สร้างเว็บไซต์มีขั้นตอนอย่างไร?

ในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา 1 เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์บริษัท เว็บไซต์สำหรับขายของ หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ จะต้องมีการวางแผนการทำงาน ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์

ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างเว็บไซต์ เราควรกำหนดวัตถุประสงค์ของเรา ว่าต้องการสร้างเว็บไซต์มาเพื่ออะไร เช่น เพื่อขายสินค้า, เพื่อเขียนบทความ, เพื่อนำมาช่วยเหลือในการทำงานด้านต่างๆ ฯลฯ

2. เลือกโดเมนเนมและโฮสต์ 

เราจะต้องเลือกโดเมนเนม (ชื่อเว็บไซต์) และบริการเว็บโฮสติ้ง (Web hosting) ปัจจุบันมีบริษัทให้บริการจดโดเมนเนมและโฮสติ้งที่เราสามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย

2.1. โดเมนเนม (Domain Name) คือ ชื่อที่ใช้แทนที่อยู่ IP (Internet Protocol) ของเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต เมื่อเราเข้าชมเว็บไซต์ผ่านเบราว์เซอร์ เช่น www.example.com โดเมนเนมช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องจำอ่านหรือจดจำหมายเลข IP ที่เป็นรหัสตัวเลขฐานสิบของเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ 
โดเมนเนมประกอบด้วยสองส่วนหลัก:

2.1.1. ชื่อโดเมน (Domain Name) เช่น "example" ใน "www.example.com" เป็นส่วนที่เราสามารถเลือกและจองตามความเหมาะสม โดยมักเลือกให้สอดคล้องกับชื่อบริษัทหรือลักษณะของธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์

2.1.2. Top-Level Domain (TLD) เป็นส่วนท้ายของโดเมนเนม (Domain Name) ที่อยู่ด้านขวาของจุด (.) ในโดเมนเนม เช่น ".com," ".org," ".net," ".edu," ".gov," และ ".int" เป็นส่วนที่แสดงลักษณะหรือประเภทของเว็บไซต์ แต่ ".com" เป็น TLD ที่มักนิยมใช้มากที่สุด

  • .com มักใช้สำหรับเว็บไซต์เพื่อธุรกิจและค้าขาย (commercial)
  • .org มักใช้สำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร (organization)
  • .net มักใช้สำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย (network)
  • .edu มักใช้สำหรับสถาบันการศึกษา (education)
  • .gov มักใช้สำหรับหน่วยงานรัฐบาล (government)
  • .int มักใช้สำหรับองค์กรระหว่างประเทศ (international)

2.2. เว็บโฮสติ้ง(Web Hosting) เป็นบริการที่ให้การจัดเก็บและให้การเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณผ่านอินเทอร์เน็ต โดยให้พื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ (server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและสามารถเก็บข้อมูลของเว็บไซต์และให้บริการผู้ใช้สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง เว็บโฮสติ้งจะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้

  • - เป็นพื้นที่เก็บข้อมูล Web Hosting เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ของเรา เช่น ไฟล์ HTML, รูปภาพ, วีดีโอ, และฐานข้อมูล
  • - การจัดเก็บและส่งข้อมูล Web Hosting มีหน้าที่จัดเก็บและส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังเบราวเซอร์ของผู้ใช้ที่เข้าชมเว็บไซต์
  • - บริการอีเมล Web Hosting ให้บริการอีเมล เราสามารถสร้างอีเมลที่เชื่อมต่อกับโดเมนเนมของเราได้ เช่น [email protected]
  • - การรองรับ Web Hosting มักมีบริการรองรับที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์ ผู้ให้บริการบางรายจะมีเจ้าหน้าที่คอยซับพอตตลอด 24 ชั่วโมง
  • - ความมั่นคงและความปลอดภัย Web Hosting จัดเก็บข้อมูลของเราในสถานที่ที่ปลอดภัยและมีการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย

Web Hosting มีหลายรูปแบบ ได้แก่ Shared Hosting, VPS Hosting, Dedicated Hosting และ Cloud Hosting ซึ่งการเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมการใช้งานเป็นสำคัญ

โดเมนเนมและโฮสติ้งจะมีค่าบริการเป็นรายปี ราคาขึ้นอยู่กับ TLD ที่เราจดทะเบียน เราสามารถต่ออายุโดเมนเนมและเช่าใช้บริการโฮสติ้งล่วงหน้าได้หลายปี

3. เลือกแพลตฟอร์ม

เราจะต้องเลือกแพลตฟอร์มเว็บไซต์ในการสร้างเว็บไซต์ของเรา เช่น WordPress, Joomla, Wix, หรือสร้างเว็บเอง ฯลฯ โดยขึ้นอยู่กับความต้องการและระดับความเชี่ยวชาญของเรา ปัจจุบันเราสามารถค้นหาบริษัทรับทำเว็บไซต์ได้ เราสามารถส่งรายละเอียดความต้องการให้บริษัทรับพัฒนาประเมินราคาและระยะเวลาในการพัฒนาเพื่อตัดสินใจก่อนได้

4. ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์(Sitemap)

เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์การสร้างเว็บไซต์แล้ว เราก็วิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของเราต้องมีกี่หน้า ในแต่ละหน้าจะประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง

5. ออกแบบเว็บไซต์

ถ้าเราต้องการสร้างเว็บไซต์เพจเดียว เราสามารถใช้เทมเพลตเว็บหรือสร้างเว็บไซต์เองด้วย HTML, CSS, และ JavaScript. หากเราใช้แพลตฟอร์มเว็บ เราสามารถเลือกเทมเพลตหรือสร้างเว็บไซต์เอง.

6. เขียนบทความ

เมื่อเว็บไซต์สร้างเสร็จ เราสามารถเริ่มเขียนบทความของเรา เนื้อหาควรมีคุณภาพสูง และสามารถเอาไปประโยชน์ได้จริงสำหรับผู้อ่านของเรา

7. SEO (Search Engine Optimization)

เราควรจัดการ SEO เพื่อให้เว็บไซต์และบทความของเราติดอันดับสูงในผลการค้นหาของเครื่องมือค้นหา เช่น Google, Bing เป็นต้น

8. การเผยแพร่

หลังจากที่เว็บไซต์และบทความได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว เราควรทำการเผยแพร่เว็บไซต์และบทความของเราผ่านช่องทางโซเชียล, อีเมล, และทางอื่น ๆ เพื่อให้คนอื่นรู้จักและเข้าชม

9. การประเมินและปรับปรุง

เราควรตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์และบทความของเราเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงและประเมินประสิทธิภาพของเว็บไซต์และเนื้อหาของเราในมีคุณภาพอยู่เสมอ

การสร้างเว็บไซต์และเขียนบทความเป็นงานที่มีอะไรมากมายให้คำนึงถึง การอัปเดตข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับการค้นหาได้ดียิ่งขึ้น